คำขวัญประจำจังหวัดพิจิตร
ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน- ต้นไม้ประจำจังหวัด: บุนนาค (Mesua ferrea)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด:ดอกบัวหลวง (Nymphaea lotus)
เดิมทีเมืองพิจิตรหาได้ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่ มีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายที่ตั้งเมืองหลายครั้ง ที่ตั้งเดิมทีหลักฐานปรากฏชัดอยู่ในเขตท้องที่อำเภอโพทะเล ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองปัจจุบัน ประมาณ ๙๐ กิโลเมตร แล้วอพยพ โยกย้ายขึ้นมาตามลำน้ำน่านเก่าสู่ทางทิศเหนือ สร้างบ้านเมืองขึ้นเป็นปีกแผ่นแน่นหนา ที่บ้านสระหลวง อยู่ในเขตตำบล เมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร ห่างจากตัวเมืองปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๗ กิโลเมตร ต่อมาลำน้ำน่านเก่าเปลี่ยนทางเดิน เป็นเหตุให้ลำน้ำตื้นเขินจึงจำเป็นต้องย้ายเมืองมาตั้งใหม่ ดังตัวเมืองที่ปรากฏในปัจจุบันนี้
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พอจะตรวจสอบได้ ความว่า ราว พ.ศ.๓๐๐ ชาวละว้า เป็นชนชาติที่มีความเจริญรุ่งเรือง และมีอำนาจมากที่สุดในดินแดนสุวรรณภูมิได้แบ่งการปกครองเป็น ๒ อาณาจักรใหญ่ๆ คืออาณาจักรทวาราวดี ได้แก่พื้นที่จังหวัด พิษณุโลกไปจดราชบุรี ทิศตะวันออกไปถึงปราจีนบุรี อาณาจักรโยนหรือโยนก และอาณาจักรโคตรบูรณ์
สำหรับอาณาจักรทวาราวดี มีเมืองสำคัญ ๓ เมือง ด้วยกัน คือ นครปฐม ละโว้หรือลพบุรี เมืองสยามหรือสุโขทัย โดยมีนครปฐมเป็นราชธานี ส่วนเมืองพิจิตรในครั้งกระนั้นอยู่ในเขตเมืองละโว้ จะมีนามว่าอย่างไร ตั้งอยู่ที่ไหนยังไม่ปรากฏชัด
ต่อมาราว พ.ศ.๑๔๐๐ ขอมมีอำนาจมากได้แผ่อำนาจเข้ามาในอาณาจักรทวาราวดี ตีได้อาณาจักรโยนกและโคตรบูรณ์ไว้ในอำนาจ และปกครองในฐานะประเทศราช และได้จัดแบ่งอาณาจักรทวาราวดีออกเป็นมณฑลใต้และฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้มีละโว้หรือลพบุรี เป็นราชธานี ส่วนฝ่ายเหนือมีเมืองสยามหรือสุโขทัย เป็นราชธานี
เชื้อสายของพระยาโคตบองเทวราช ได้ปกครองเมืองพิจิตรสืบต่อกันมาจนราวปี พ.ศ.๑๘๐๐ พระยาโคตบองเทวราช องค์สุดท้ายสิ้นพระชนม์แล้วไม่มีราชโอรสสืบราชสมบัติเมืองพิจิตรแทน วงศ์พระยาโคตบองสิ้นสูญไป ประกอบกับอำนาจขอม ในดินแดนแถบนี้ได้เสื่อมลง ขณะนั้นไทยกำลังแผ่อาณาเขตลงมาทางตอนใต้ ในที่สุดกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ทรงขับไล่ขอมออกไปจากดินแดนนี้จนหมดสิ้น สถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี พิจิตรก็ได้รับสถาปนาเป็นเมืองลูกหลวง ทางด้านใต้ และในขณะนั้นเอง พิจิตรได้ชื่อใหม่ว่า "เมืองสระหลวง" ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยารัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงวางระเบียบการปกครอง บ้านเมืองใหม่ พิจิตรมีฐานะเป็นเมืองตรีขึ้นอยู่กับเมืองพิษณุโลก และได้ขนานนามใหม่ให้เหมาะสม กับภูมิประเทศที่มีแหล่งน้ำมาก คือเมือง "โอฆะบุรี" ราวปี พ.ศ.๒๐๐๖ ตอนหลังต่อมาในหนังสือพงศาวดาร เรื่องไทยรบพม่าในสมัย กรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เรียกเมืองนี้ว่า "พิจิตร" คงถือเอาตอนสร้างเมืองครั้งที่ ๒ มาเรียก และได้เรียกกันมาจนกระทั่งทุกวันนี้
ราวปี พ.ศ.๒๔๑๐ แม่น้ำน่านเดิมเปลี่ยนทางเดิน ซึ่งเดิมไหลผ่านตัวเมืองพิจิตรเก่า เกิดตี้นเขินจึงจำเป็นต้องย้ายเมืองมาตั้ง ณ ที่แห่งใหม่ ที่ตำบลท่าหลวง อำเภอเมือง อันเป็นที่ตั้งเมืองมาจนถึงปัจจุบันนี้
การปกครองแบ่งออกเป็น 12 อำเภอ 89 ตำบล 852 หมู่บ้าน
- อำเภอเมืองพิจิตร
- อำเภอวังทรายพูน
- อำเภอโพธิ์ประทับช้าง
- อำเภอตะพานหิน
- อำเภอบางมูลนาก
- อำเภอโพทะเล
- อำเภอสามง่าม
- อำเภอทับคล้อ
- อำเภอสากเหล็ก
- อำเภอบึงนาราง
- อำเภอดงเจริญ
- อำเภอวชิรบารมี
ที่ตั้งอาณาเขต
จังหวัด พิจิตรอยู่ในบริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 องศา 50 ลิปดา กับ 16 องศา และเส้นแวงที่ 99 องศา กับ 150 องศา 45 ลิปดาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 4,531.013 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,831,883 ไร่ มีความกว้างประมาณ 72 กิโลเมตร ความยาวประมาณ 77 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯโดยทางรถยนต์ประมาณ 346 กิโลเมตร และรถไฟระยะทางประมาณ 351 กิโลเมตรอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางระกำ และอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลกทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอชุมแสง และอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูณ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
การปกครอง
จังหวัด พิจิตรแบ่งการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล อำเภอสามง่าม อำเภอวังทรายพูน อำเภอทับคล้อ อำเภอสากเหล็ก อำเภอดงเจริญ และอำเภอบึงนางลักษณะภูมิประเทศ
โดย ทั่วไปของจังหวัดพิจิตรเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำยม และแม่น้ำน่านไหลผ่าน ทั้ง 2 สายไหลผ่านจังหวัดเกือบเป็นลักษณะเส้นขนานจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ โดยมีแม่น้ำพิจิตร(แม่น้ำเดิม) อยู่ระหว่างกลาง ความยาวของแม่น้ำน่านที่ไหลผ่านจังหวัดมีระยะทาง 97 กิโลเมตร และความยาวของแม่น้ำยมที่ไหลผ่านจังหวัดมีระยะประมาณ 128 กิโลเมตรแหล่งน้ำธรรมชาติ จังหวัดพิจิครมีแม่น้ำที่สำคัญไหลผ่าน 3 สายได้แก่
1. แม่น้ำน่าน มีต้นน้ำจากดอยภูแวในทิวเขาหลวงพระบาง ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอปัว จังหวัดน่าน แม่น้ำน่านไหลผ่านที่ตั้งตัวจังหวัดพิจิตร อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก และลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ มีความยาวทั้งสิ้น 97 กิโลเมตร มีพื้นที่ในลุ่มน้ำน่านประมาณ 2,602 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,626,250 ไร่
การประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นภาคการผลิตหลัก รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรม การค้าส่ง การค้าปลีก และการบริการ ผลผลิตสำคัญได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเขียว และการประมง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น